Eastern Association of Disabilities
สมาคมคนพิการ
ภาคตะวันออก
สมาคมคนพิการ ภาคตะวันออก เราพัฒนาอาชีพคนพิการ เพื่อความมั่นคงและยั่งยืน
สมาคมคนพิการภาคตะวันออก
สมาคมคนพิการภาคตะวันออก ก่อตั้งขึ้นจากการรวมตัวของกลุ่มคนพิการที่มีอุดมการณ์เดียวกัน เพื่อเป็นพลังขับเคลื่อนในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการในประเทศไทย ให้มีความมั่นคงในชีวิตและสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรี
ในฐานะองค์กรคนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย สมาคมฯ มุ่งมั่นพัฒนามาตรฐานการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อสร้างโอกาสและความเท่าเทียมในการดำรงชีวิตของคนพิการ โดยเน้นการสร้างอาชีพ การมีงานทำ เพื่อให้สมาชิกสามารถเลี้ยงดูตนเองและครอบครัวได้อย่างภาคภูมิใจ และมีส่วนร่วมในสังคมอย่างมีเกียรติ
พันธกิจหลักของสมาคมคนพิการภาคตะวันออก คือ การพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในทุกมิติ ได้แก่
ด้านการแพทย์: ส่งเสริมการเข้าถึงการรักษา ฟื้นฟูสมรรถภาพ และบริการสุขภาพที่เหมาะสม
ด้านการศึกษา: ผลักดันการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพสำหรับคนพิการทุกระดับ
ด้านการกีฬา: สนับสนุนการออกกำลังกายและการเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาคนพิการ เพื่อเสริมสร้างสุขภาพกายและใจ
ด้านอาชีพและการมีงานทำ: พัฒนาทักษะฝีมือ และส่งเสริมโอกาสในการมีอาชีพที่มั่นคง
ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก: ผลักดันให้มีการพัฒนาและปรับปรุงสิ่งแวดล้อมเพื่อการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้อย่างเท่าเทียม
สมาคมคนพิการภาคตะวันออก ยังคงยืนหยัดในอุดมการณ์ที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างสังคมที่มีความเท่าเทียมและยั่งยืนสำหรับทุกคน
เกี่ยวกับเรา
สมาคมคนพิการภาคตะวันออก ก่อตั้งเมื่อ 3 มิถุนายน 2553
ทะเบียนเลขที่ 7/2553 สถานที่ตั้งจดทะเบียน 195/1 หมู่ 3
ตำบลหนองไม้แดง อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี 20000
เลขที่ผู้เสียภาษี 0-99300-0098-84-6
สมาคมคนพิการภาคตะวันออก เป็นองค์กรคนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกายที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานที่มุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการในภาคตะวันออกและร่วมมือกับองค์กรภาคเครือข่ายคนพิการทุกภาคส่วนในประเทศไทยให้ดีขึ้นในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการแพทย์ การศึกษา อาชีพและการทำงาน หรือการเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ จากจากนั้นสมาคมฯ ยังเป็นหน่วยที่บริการจัดหางานให้คนพิการ ตามมาตรา 33 และการฝึกงานตามมาตรา 35 เพื่อทดแทนการจ้างงานคนพิการ ในกรณีที่สถานประกอบการไม่สามารถจ้างงานคนพิการได้ หรือกรณีนายจ้างต้องการสร้างภาพลักษณ์องค์กรด้วยการทำ CSR ช่วยสร้างอาชีพอิสระให้คนพิการและผู้ดูแลคนพิการในพื้นห่างไกลหรือเรียกว่าพื้นชายขอบ
สิ่งที่สมาคมฯ ทำ:
* ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต: สมาคมฯ มีโครงการต่างๆ เพื่อให้คนพิการมีโอกาสทางการศึกษา ฝึกอาชีพ และมีงานทำ สามารถเลี้ยงดูตนเองและครอบครัวได้
– หน่วยบริหารจ้างงานคนพิการ เราเป็นสื่อกลางระหว่าสถานประกอบการ ในการนัดพบแรงงานคนพิการ เพื่อทำงานในสถานประกอบการ การทำงานเพื่อองค์สาธารณประโยชน์ และการจ้างงาน Work from home
– ศูนย์ฝึกอาชีพคนพิการ เราเป็นหน่วยบริการฝึกอาชีพมาตรา 35 ให้คนพิการ หลักสูตร ช่างตัดเย็บเสื้อผ้าระดับต้น ระดับกลาง 600 ชั่วโมง และหลักสูตร การทำเบเกอรี่ 600 ชั่วโมง โดยการฝึกอาชีพหรือฝึกงานดังกล่าว สามารถทดแทนการจ้างงานคนพิการได้ ลดหย่อนค่าใช้จ่ายได้ 1 เท่า เพื่อหลีกเลี่ยงการโดยปรับส่งเงินเข้ากองทุนฯ
* ให้ความช่วยเหลือด้านสุขภาพ: สมาคมฯ สนับสนุนการเข้าถึงบริการทางการแพทย์และสุขภาพสำหรับคนพิการ
* ส่งเสริมการเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวก: สมาคมฯ ร่วมผลักดันให้มีการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้เหมาะสมกับการใช้งานของคนพิการ
* สร้างเครือข่ายและความร่วมมือ: สมาคมฯ ทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรต่างๆ เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน
สิ่งที่สมาคมฯ ไม่สามารถทำ:
* ให้คำแนะนำทางการแพทย์: สมาคมฯ ไม่ใช่หน่วยงานทางการแพทย์ การขอคำแนะนำทางการแพทย์ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
* ดำเนินการเกี่ยวกับการเงิน: สมาคมฯ ไม่สามารถให้คำแนะนำหรือช่วยเหลือเกี่ยวกับเรื่องการเงินได้
* ให้บริการส่วนบุคคล: สมาคมฯ ให้บริการในระดับองค์กร และบุคคล
สมาชิกแบ่งเป็น 5 ประเภท
1. สมาชิกสามัญ
๕.๑ สมาชิกสามัญ ได้แก่ คนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย ที่มีภูมิลำเนาใน จังหวัดชลบุรี จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ตราด ปราจีนบุรี ระยอง สระแก้ว และต้องมีคุณสมบัติตามข้อ 6
2. สมาชิกสามัญประจำจังหวัด
สมาชิกสามัญประจำจังหวัด ได้แก่ สมาชิกสามัญจากจังหวัดต่างๆ ตามข้อ 5.1จะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนสมาชิกสามัญประจำจังหวัด จังหวัดละไม่เกิน 5 คน
3. สมาชิกวิสามัญ
สมาชิกวิสามัญ ได้แก่ คนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย ที่มีขาดคุณสมบัติตามข้อ 6.1 และ 6.3
4. สมาชิกสมทบ
สมาชิกสมทบ ได้แก่ บุคคลทั่วไปที่ไม่มีร่างกายส่วนหนึ่งส่วนใดพิการ และมีคุณสมบัติตามข้อ 6.1 6.2 6.5 6.6
5. สมาชิกกิตติมศักดิ์
สมาชิกกิตติมศักดิ์ ได้แก่ บุคคลผู้ทรงเกียรติ หรือทรงคุณวุฒิ หรือผู้มีอุปการะคุณแก่สมาคม ซึ่งคณะกรรม การลงมติให้เข้ามาเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ของสมาคม ซึ่งบุคคลผู้นั้นตอบรับ