กิจกรรมการสร้างแบบและตัดเย็บถุงผ้า ศูนย์ฝึกจังหวัดสุรินทร์

  “ถุงพลาสติก” เป็นบรรจุภัณฑ์ที่นิยมให้อย่างแพร่หลายในประเทศไทยและทั่วโลก ที่มีอายุการใช้งานสั้น แต่อายุการย่อยสลายยาวนานถึง 450 ปี ด้วยต้นทุนที่ไม่สูงมากนักและผลิตได้ครั้งละมากๆ ทำให้เกิดการใช้จนไม่เสียดาย เพราะใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง ปัจจุบันมนุษย์บริโภคทรัพยากรที่เน้นความสะดวกสบาย ส่งผลให้ขยะจากถุงพลาสติกเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องในทุกปี โดยไทยมีปริมาณขยะพลาสติกและโฟมมากถึง 2.7 ล้านตัน หรือ เฉลี่ย 7,000 ตันต่อวัน แบ่งเป็นถุงพลาสติกร้อยละ 80 หรือ 5,300 ตันต่อวัน ส่วนที่เหลือเป็นขยะโฟมประมาณ 700,000 ตัน และพบว่า ขยะพลาสติกร้อยละ 50 กำจัดไม่ถูกวิธี ที่สำคัญขยะพลาสติกและโฟมหากใช้วิธีฝังกลบจะใช้พื้นที่มากกว่าขยะปกติถึง 3 เท่า และมีสารตกค้างในสิ่งแวดล้อมจำนวนมาก เนื่องจากถุงพลาสติกทำจากเม็ดปิโตรเลียม ทำให้มีการปนเปื้อนของสารตกค้างในดินและน้ำ ส่งผลก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก สาเหตุของภาวะโลกร้อน

สำหรับข้อดีของ “ถุงผ้า” ซักทำความสะอาดง่ายไม่ก่อให้เกิดการกดทับเท่าถุงพลาสติก ใช้ง่ายขาดยาก ย่อยสลายได้ไม่ตกค้างเกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม ทนทานและใช้ซ้ำได้ ช่วยลดปริมาณขยะมูลฝอยและก๊าซเรือนกระจก ช่วยลดการปนเปื้อนของสารประกอบไดออกซินที่เป็นสารก่อมะเร็ง พกพาง่ายด้วย

ภาพบรรยากาศการสร้างแบบและตัดเย็บถุงผ้าหรือกระเป๋าผ้าของคนพิการและผู้ดูแลคนพิการที่เข้าร่วมในโครงการฝึกงานมาตรา 35 หลักสูตรช่างตัดเย็บเสื้อผ้า ระดับต้น 600 ชั่วโมง 6 เดือน ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทปิโตรเลียมไทย คอร์ปอเรชั่น จำกัด พีที ร่วมกับ สมาคมคนพิการภาคตะวันออก และ สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย จังหวัดสุรินทร์ ณ ศาลาประชาคมหมู่ 16 ตำบลนาบัง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์

Share :

Scroll to Top
Privacy Overview

This website uses cookies so that we can provide you with the best user experience possible. Cookie information is stored in your browser and performs functions such as recognising you when you return to our website and helping our team to understand which sections of the website you find most interesting and useful.